Windows 7 64-bit

จาก NakhonNet
ข้ามไปยัง: นำทาง, ค้นหา

การติดตั้ง Windows 7 64-bit บนระบบ Diskless จะง่ายกว่าการติดตั้ง Windows XP เพราะว่า Windows 7 64-bit รองรับการใช้งาน iSCSI ในตัวอยู่แล้ว ในที่นี้จะใช้วิธีติดตั้ง Windows 7 64-bit บนฮาร์ดดิสก์ จากนั้นปรับแต่ง และติดตั้งโปรแกรมตามต้องการ แล้วจึงคัดลอกดิสก์ไปยังเซิร์ฟเวอร์

ขั้นตอนการติดตั้ง Windows 7 64-bit ให้ทำตามขั้นตอนในหน้านี้โดยไม่ต้องไปดูในส่วนของ Windows XP เลย ยกเว้นบางขั้นตอนที่ลิงค์จากหน้านี้ไปโดยตรง ก็ให้ทำเฉพาะขั้นตอนดังกล่าวจากหน้าที่ลิงค์ไป

การแบ่งพาร์ทิชั่น

การแบ่งพาร์ทิชั่น แนะนำให้ใช้วิธีเดียวกับการแบ่งพาร์ทิชั่นในการติดตั้ง Windows XP เพราะจะได้มีเพียงพาร์ทิชั่นเดียว (ไม่มีพาร์ทิชั่นที่ถูกซ่อนไว้)

ขั้นตอนการติดตั้งวินโดวส์

การติดตั้ง Windows 7 64-bit ก็ติดตั้งตามขั้นตอนปกติ

ปรับแต่ง Windows 7 64-bit

การปรับแต่ง Windows 7 64-bit เพื่อให้ทำงานกับระบบ Diskless ได้ โดยขั้นตอนในที่นี้ได้นำมาจากกระทู้ http://www.linuxthai.org/showthread.php?31801

เปิดใช้งาน User Administrator

  • เรียกหน้าต่าง Command Prompt ในฐานะ Administrator
    • คลิกปุ่ม Start
    • ในช่อง Search พิพม์ cmd รอสักครู่เมนูด้านบนจะแสดงไอคอน cmd
    • คลิกขวาที่ไอคอน cmd เลือก Run as Administrator
    • จะได้หน้าต่าง Command Prompt ที่มีหัวหน้าต่างบอกว่าเป็น Administrator
  • พิมพ์คำสั่งดังนี้
net user Administrator /active:yes
exit
  • Logoff ออกจากวินโดวส์
  • Logon โดยใช้ User Administrator ซึ่งจะไม่มี password

ลบ User เดิมออก

  • เข้าหน้าจอ User Accounts
    • คลิกปุ่ม Start
    • เข้าเมนู Control Panel
    • เข้าเมนู User Accounts
  • ลบ User ที่ไม่ใช่ Administrator และ Guest โดยเลือก Delete Files ด้วย

ปิดการใช้งาน WFP Lightweight Filter ในการ์ดแลน

ปิดการใช้งาน WFP Lightweight Filter ในการ์ดแลน เนื่องจาก Filter นี้จะทำให้ไม่สามารถบูตผ่าน iSCSI ได้ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี

โดยแก้ใน Registry

  • คลิก Start แล้วพิมพ์ regedit แล้วกดปุ่ม Enter
  • เลือกหัวข้อด้านซ้าย HKEY_LOCAL_MACHINE -> SYSTEM -> CurrentControlSet -> Control -> Class -> {4D36E972-E325-11CE-BFC1-08002BE10318}

สำหรับหัวข้อสุดท้าย เนื่องจากจะมีตัวเลขเรียงกันเยอะมาก ให้สังเกตเฉพาะตัวหน้า (4D36E972) เพราะดัวต่อๆ ไปจะเหมือนกัน

  • เลือกหัวข้อย่อยที่ตรงกับการ์ดแลนที่ใช้งาน (หัวข้อย่อยจะเป็น 0001, 0002, ...) ให้เลือกแต่ละหัวข้อแล้วดูค่าในช่องด้านขวา โดยสังเกตจากค่า DriverDesc
  • เมื่อได้หัวข้อย่อยของการ์ดแลนที่ใช้งานแล้ว ให้เปิดหัวข้อย่อยลงไปอีกที แล้วเลือกหัวข้อย่อย Linkage
  • แก้ไขค่า FilterList โดยลบบรรทัดที่มีค่านี้ออก
{B70D6460-3635-4D42-B866-B8AB1A24454C}

เช่น ถ้าค่าเดิมเป็น

{BDF5438D-38AE-4B4F-BAD8-D5873FBE4B85}-{B5F4D659-7DAA-4565-8E41-BE220ED60542}-0000
{BDF5438D-38AE-4B4F-BAD8-D5873FBE4B85}-{B70D6460-3635-4D42-B866-B8AB1A24454C}-0000

ให้ลบบรรทัดล่างออก คงเหลือ

{BDF5438D-38AE-4B4F-BAD8-D5873FBE4B85}-{B5F4D659-7DAA-4565-8E41-BE220ED60542}-0000
  • ปิดโปรแกรม Regedit

โดยใช้โปรแกรม nvspbind

  • ดาวน์โหลดไฟล์ nvspbind จากเว็บในหน้า Software
  • ติดตั้งโปรแกรม แล้วจะได้คำสั่ง nvspbind
  • คลิกปุ่ม Start พิมพ์ cmd แล้วกดปุ่ม Enter จะได้หน้าต่าง Command Prompt
  • เรียกคำสั่ง
nvspbind -n
  • ให้มองหา Local Area Connection ของการ์ดแลนที่ใช้งาน ซึ่งจะมีข้อความทำนองนี้
{BDF5438D-38AE-4B4F-BAD8-D5873FBE4B85}
"pci\ven_8086&dev_100f"
"Intel(R) PRO/1000 MT Network Connection"
"Local Area Connection":
  • ให้ Copy หมายเลขในวงเล็บก้ามปู รวมทั้งวงเล็บก้ามปูด้วย สำหรับตัวอย่างข้างต้นคือ {BDF5438D-38AE-4B4F-BAD8-D5873FBE4B85}
  • จากนั้นใช้คำสั่ง
nvspbind -d <หมายเลขที่ Copy ไว้> ms_wfplwf

สำหรับในตัวอย่างคือ

nvspbind -d {BDF5438D-38AE-4B4F-BAD8-D5873FBE4B85} ms_wfplwf

ปรับการเรียกใช้ Service ของการ์ดแลน

  • หาชื่อของ Service ของการ์ดแลน
    • เปิด Device Manager
      • กดปุ่ม Windows - Break หรือคลิกขวาที่ Computer แล้วเลือก Properties
      • คลิกเมนู Device Manager
    • ขยายหัวข้อ Network Adapters
    • ดับเบิลคลิกที่การ์ดแลน
    • คลิกแท็ป Details
    • เลือกหัวข้อ Property เป็น Service
    • จะได้ชื่อ Service ในช่อง Value ด้านล่าง
  • ปรับวิธีการเรียก Service
    • คลิก Start แล้วพิมพ์ regedit แล้วกดปุ่ม Enter
    • เลือกหัวข้อด้านซ้าย HKEY_LOCAL_MACHINE -> SYSTEM -> CurrentControlSet -> services
    • เลือกหัวข้อย่อยของ services ตามชื่อของ Service ที่ได้จากขั้นตอนแรก
    • ปรับค่า Start ในช่องด้านขวา โดยดับเบิลคลิกที่ค่า Start แล้วเปลี่ยนเป็น 0 (เดิมจะเป็น 3)
    • ปิดโปรแกรม Regedit

ปิดการใช้งาน QoS Package Scheduler

  • เปิดหน้าต่าง Network and Sharing Center
    • คลิกขวาที่ไอคอนการ์ดแลนใน Task Bar แล้วเลือก Open Network and Sharing Center
    • หรือคลิกปุ่ม Start เลือก Control Panel แล้วดูตรงหัวข้อ Network and Internet เลือกหัวข้อย่อย View network status and tasks
  • คลิกหัวข้อ Change adapter settings จากด้านซ้าย
  • คลิกขวาที่ Local Area Connection แล้วเลือกหัวข้อ Properties
  • คลิกเพื่อเอาตัวเลือกออกในหัวข้อ QoS Packet Scheduler
  • คลิก OK

ติดตั้งโปรแกรม

หลังจากปรับแต่งวินโดวส์เรียบร้อยแล้ว ก็ให้ติดตั้งไดรเวอร์ให้ครบถ้วน และติดตั้งโปรแกรมตามต้องการ จากนั้นก็สามารถคัดลอกดิสก์ไปยังเซิร์ฟเวอร์ได้


View/Edit Diskless Server
ภาพรวม หลักการทำงาน - Hardware - Software
ติดตั้ง Server ติดตั้ง Slackware64 13.37 บูต - แบ่งพาร์ทิชั่น - เตรียมฮาร์ดดิสก์ - ติดตั้งแพ็กเกจ - ติดตั้ง Lilo - กำหนดค่าเน็ตเวิร์ก - กำหนดรหัสผ่าน - Slackware64 14.0
ปรับแต่ง Slackware Linux การใช้งานเบื้องต้น - คอมไพล์ Kernel - สร้างไดเรกทอรี - ปรับแต่ง Filesystem - ปรับแต่งแพ็กเกจ - เพิ่มการเรียก dhcpd
ปรับแต่ง Network กำหนดชื่อ Device - ทำ Network Bonding - กำหนดค่า Network
RAID สร้างพาร์ทิชั่น - สร้าง RAID - ไม่ใช้ RAID
กำหนดค่า Service NTPD - NAMED - TFTPD
โปรแกรม iSCSI Enterprise Target - iPXE
โปรแกรมจัดการระบบ Apache - MySQL - PhpMyAdmin - CakePHP - Disk Serve Manager (อัปเกรด)
ติดตั้ง Client ติดตั้ง Windows XP - ติดตั้ง iSCSI - ปรับแต่ง Windows XP - คัดลอกดิสก์ไปยังเซิร์ฟเวอร์ - Windows 7 64-bit
การใช้งาน ภาพรวม นิยาม - ไฟล์ Config และ Script
การกำหนดค่า Config - Cluster - Alternative - Computer - ตัวอย่าง
การใช้งาน หน้าจอหลัก - Mode การใช้งาน - ปรับปรุง Image - สำรอง Image - ขยายขนาด Image - ใช้หลาย Server
โปรแกรมเสริม ปรับแต่งเครื่องลูกขณะบูต - ฟอร์แมตไดรฟ์เสริม
การแก้ไขปัญหา FAQ - ไฟล์กำหนดค่า - ไฟล์บันทึกการทำงาน - Secure Erase