ติดตั้ง Lilo

จาก NakhonNet
ข้ามไปยัง: นำทาง, ค้นหา

Lilo ย่อมาจาก Linux Loader ซึ่งมีหน้าที่นำ kernel ของลินุกซ์เข้ามายังหน่วยความจำของเครื่อง เพื่อเริ่มใช้งานลินุกซ์ ซึ่ง Slackware ได้ให้วิธีติดตั้งไว้ 3 วิธี คือ 1) Simple หรืออย่างง่าย, 2) Expert หรือกำหนดเอง และ 3) Skip คือไม่ติดตั้ง Lilo ดังรูป

194050.png

ในที่นี้เราจะติดตั้งแบบกำหนดเอง จึงให้ใช้ปุ่มลูกศรเลื่อนแถบลงมาที่ Expert แล้วกดปุ่ม Enter ซึ่งจะได้หน้าจอสำหรับติดตั้ง Lilo ดังนี้

194106.png

ให้เลือกคำสั่ง Begin เพื่อเริ่มการกำหนดค่า Lilo ซึ่งโปรแกรมจะให้ใส่พารามิเตอร์เพิ่มเติม ดังนี้

194116.png

ให้พิมพ์ข้อความดังนี้

max_loop=64

คำสั่งนี้เป็นการกำหนดให้ลินุกซ์สร้าง Loopback สำหรับใช้งาน ซึ่งจำนวน Loopback ที่ใช้จะเท่ากับจำนวนกลุ่มคอมพิวเตอร์ บวกจำนวนคอมพิวเตอร์ เช่น มีคอมพิวเตอร์ 3 สเปคๆ ละ 5 เครื่อง แต่สเปค 1 กับสเปค 2 ใช้ Image เดียวกันได้ ก็จะเท่ากับมี 2 กลุ่มคอมพิวเตอร์ และ 15 เครื่อง ดังนั้นจะต้องใช้ Loopback อย่างน้อย 17 อย่างไรก็ดีการกำหนดให้มากก็ไม่มีผลเสียอะไร แนะนำให้ใส่ไว้เยอะๆ (ค่าสูงสุดคือ 255)

เมื่อพิมพ์ข้อความแล้ว ให้กดปุ่ม Enter จากนั้นโปรแกรมจะถามว่าต้องการใช้ UTF-8 หรือไม่ ดังรูป

194127.png

ให้กดปุ่ม Enter เลย โดยที่แถบสีอยู่ที No เพื่อเป็นการบอกว่าไม่ต้องใช้ UTF-8 จากนั้นโปรแกรมจะให้เลือกความละเอียดของจอ ดังนี้

194136.png

ให้เลือก standard เพื่อใช้หน้าจอแบบปกติ จากนั้นโปรแกรมจะให้เลือกตำแหน่งที่จะติดตั้ง Lilo ดังรูป

194155.png

ให้เลือก MBR ซึ่งโปรแกรมจะให้ยืนยันชื่อของไดรฟ์อีกครั้ง ดังรูป

194204.png

โดยปกติแล้ว โปรแกรมติดตั้งจะตรวจสอบชื่อไดรฟ์ได้ถูกต้อง ดังนั้นก็เพียงกดปุ่ม Enter เพื่อยืนยันชื่อไดรฟ์ จากนั้นโปรแกรมจะให้ระบุเวลาที่จะรอ ก่อนที่จะบูตตามที่กำหนดไว้ (ทั้งนี้เพื่อให้สามารถขัดจังหวะการบูต แล้วเลือกวิธีบูตตามที่ต้องการได้) ดังนี้

194213.png

ให้เลือก 5 seconds เพื่อให้ Lilo รอเป็นเวลา 5 วินาที ก่อนที่จะบูตจากค่าที่กำหนดไว้ จากนั้นโปรแกรมจะถามว่าต้องการแสดงโลโก้ตอนบูตเครื่องหรือไม่ ดังนี้

194224.png

ให้ตอบ Yes เพื่อให้แสดงโลโก้ตอนบูตเครื่อง จากนั้นโปรแกรมจะกลับไปหน้าจอเมนูหลัก ให้เลือกเมนู Linux เพื่อสร้างเมนูสำหรับบูตลินุกซ์ ซึ่งโปรแกรมจะถามพาร์ทิชั่นที่ติดตั้งลินุกซ์ไว้ ดังนี้

194247.png

ให้เลือกพาร์ทิชั่นแรก คือ /dev/sda1 สำหรับผู้ที่ไม่สร้าง swap partition และเลือก /dev/sda2 สำหรับผู้ที่สร้าง swap partition จากนั้นโปรแกรมจะให้ตั้งชื่อเพื่อใช้เป็นเมนูสำหรับากรบูต ดังนี้

194259.png

ให้พิมพ์คำว่า Linux ดังรูปข้างต้น แล้วกดปุ่ม Enter ก็เป็นอันเสร็จการกำหนดค่าการบูตลินุกซ์ ให้เลือกเมนู Install เพื่อติดตั้ง Lilo จากนั้นโปรแกรมจะให้เลือกชนิดของเมาส์ที่ใช้งาน ดังรูป

194312.png

ผู้ที่ใช้เมาส์ USB ก็เลือกเป็น usb ส่วนผู้ที่ใช้เมาส์ PS/2 หรือไม่มีเมาส์ให้เลือกเป็น imps2 จากนั้นโปรแกรมจะถามว่าจะให้เรียกไดรเวอร์เมาส์ (โปรแกรม gpm ซึ่งใช้สำหรับ Text Mode) ตอนบูตเครื่องหรือไม่ ก็ให้ตอบ Yes ไป ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการติดตั้ง Lilo


View/Edit Diskless Server
ภาพรวม หลักการทำงาน - Hardware - Software
ติดตั้ง Server ติดตั้ง Slackware64 13.37 บูต - แบ่งพาร์ทิชั่น - เตรียมฮาร์ดดิสก์ - ติดตั้งแพ็กเกจ - ติดตั้ง Lilo - กำหนดค่าเน็ตเวิร์ก - กำหนดรหัสผ่าน - Slackware64 14.0
ปรับแต่ง Slackware Linux การใช้งานเบื้องต้น - คอมไพล์ Kernel - สร้างไดเรกทอรี - ปรับแต่ง Filesystem - ปรับแต่งแพ็กเกจ - เพิ่มการเรียก dhcpd
ปรับแต่ง Network กำหนดชื่อ Device - ทำ Network Bonding - กำหนดค่า Network
RAID สร้างพาร์ทิชั่น - สร้าง RAID - ไม่ใช้ RAID
กำหนดค่า Service NTPD - NAMED - TFTPD
โปรแกรม iSCSI Enterprise Target - iPXE
โปรแกรมจัดการระบบ Apache - MySQL - PhpMyAdmin - CakePHP - Disk Serve Manager (อัปเกรด)
ติดตั้ง Client ติดตั้ง Windows XP - ติดตั้ง iSCSI - ปรับแต่ง Windows XP - คัดลอกดิสก์ไปยังเซิร์ฟเวอร์ - Windows 7 64-bit
การใช้งาน ภาพรวม นิยาม - ไฟล์ Config และ Script
การกำหนดค่า Config - Cluster - Alternative - Computer - ตัวอย่าง
การใช้งาน หน้าจอหลัก - Mode การใช้งาน - ปรับปรุง Image - สำรอง Image - ขยายขนาด Image - ใช้หลาย Server
โปรแกรมเสริม ปรับแต่งเครื่องลูกขณะบูต - ฟอร์แมตไดรฟ์เสริม
การแก้ไขปัญหา FAQ - ไฟล์กำหนดค่า - ไฟล์บันทึกการทำงาน - Secure Erase