เตรียมฮาร์ดดิสก์

จาก NakhonNet
ข้ามไปยัง: นำทาง, ค้นหา

การเตรียมฮาร์ดดิสก์ และขั้นตอนต่อไปทั้งหมด จะทำผ่านโปรแกรมติดตั้ง ซึ่งสามารถเรียกโดยคำสั่ง

setup

ซึ่งจะได้หน้าจอดังนี้

191751.png

Swap partition

การเตรียมฮาร์ดดิสก์จะเริ่มจากการสร้าง swap partition ซึ่งผู้ที่ไม่ได้สร้าง swap partition ก็ให้ข้ามขั้นตอนนี้ไป

การสร้าง swap partition ให้ใช้ปุ่มลูกศรเลื่อนแถบสีลงมาที่เมนู ADDSWAP แล้วกดปุ่ม Enter ซึ่งจะได้หน้าจอสร้าง swap partition ดังรูป

191815.png

โปรแกรมจะแสดงพาร์ทิชั่นที่ถูกระบุประเภทเป็น Linux swap ขึ้นมา

ในที่นี้มีเพียงพาร์ทิชั่นเดียว และถูกเลือกอยู่แล้วโดยมีเครื่องหมายดอกจัน (*) อยู่ในวงเล็บก้ามปู้ ([]) และแถบสีอยู่ที่ปุ่ม OK ก็ให้กดปุ่ม Enter เพื่อไปยังขั้นตอนต่อไปได้เลย ซึ่งจะเป็นหน้าจอเลือกวิธี format swap partion ดังนี้

191831.png

โปรแกรมจะถามว่าต้องการ format swap partion โดยละเอียดหรือไม่

โดยปกติแล้วฮาร์ดดิสก์ใหม่ไม่ควรจะมีปัญหา และสำหรับฮาร์ดดิสก์เก่า ก็ควรจะตรวจสอบมาให้เรียบร้อยก่อนนำมาติดตั้ง ดังนั้นจึงสามารถตอบ No โดยการกดปุ่ม Enter ได้เลย (เนื่องจากแถบสีอยู่ที่ปุ่ม No อยู่แล้ว) ซึ่งโปรแกรมจะทำการสร้าง swap partition โดยใช้เวลาประมาณ 3-15 วินาที แล้วจะแสดงผลลัพธ์ดังรูป

191841.png

โปรแกรมจะบอกว่าสร้าง swap partition เรียบร้อยแล้ว และได้เพิ่มคำสั่งเพื่อให้ระบบเรียกใช้ swap partition ตอนบูตเครื่อง (โดยกำหนดในไฟล์ /etc/fstab)

ให้กดปุ่ม Enter เพื่อไปยังขั้นตอนถัดไป

Install partition

สำหรับผู้ที่ไม่สร้าง swap partiion ให้เลือกเมนู TARGET จากเมนูหลัก และผู้ที่สร้าง swap partition เสร็จเรียบร้อยจากขั้นตอนที่แล้ว ซึ่งทั้งสองวิธีจะได้หน้าจอดังนี้

191849.png

โปรแกรมจะแสดงพาร์ทิชั่นทั้งหมดที่สามารถใช้ติดตั้งได้

ให้เลือกพาร์ทิชั่นตามที่กำหนดไว้

  • สำหรับผู้ที่สร้าง swap partition ให้เลือก /dev/sda2
  • สำหรับผู้ที่ไม่สร้าง swap partition ให้เลือก /dev/sda1

ซึ่งทั้งสองวิธีจะเป็นรายการแรก จากนั้นโปรแกรมจะถามวิธี format พาร์ทิชั่น ดังรูป

191902.png

การ format พาร์ทิชั่นมี 3 วิธี ดังนี้

วิธี คำอธิบาย
Format ทำการ format อย่างรวดเร็ว โดยไม่ตรวจสอบฮาร์ดดิสก์
Check ทำการตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ในระหว่าง format
No ไม่ต้อง format และให้ใช้ข้อมูลเดิมที่มีอยู่ในพาร์ทิชั่น

ให้เลือกวิธีเป็น Format จากนั้นโปรแกรมจะถามว่าจะใช้ระบบไฟล์ (File System) แบบใด ดังรูป

191910.png

ให้เลือกเป็น ext4 จากนั้นโปรแกรมจะทำการ format พาร์ทิชั่น โดยใช้เวลาประมาณ 10 - 60 วินาที ขึ้นอยู่กับขนาดของพาร์ทิชั่น และความเร็วของฮาร์ดดิสก์ แล้วจะแสดงผลของการ format และพาร์ทิชั่นอื่นที่ยังไม่ได้ format ดังนี้

191928.png

ให้เลือกพาร์ทิชั่นถัดไป (/dev/sda2 สำหรับผู้ที่ไม่สร้าง swap partition และ /dev/sda3 สำหรับผู้ที่สร้าง swap partition) ซึ่งโปรแกรมจะถามวิธี format และประเภทของระบบไฟล์เหมือนกับขั้นตอนก่อนหน้า ซึ่งก็ให้ตอบเหมือนกับขั้นตอนก่อนหน้า คือ ให้ format โดยวิธี Format และให้สร้างระบบไฟล์แบบ ext4 ซึ่งเป็นคำตอบโดยปริยายอยู่แล้ว หลังจากนั้นโปรแกรมจะถามว่าจะใช้งานพาร์ทิชั่นนี้ที่ใด ดังรูป

191948.png

ให้พิมพ์ /var ลงไปในกล่องข้อความ (ดังรูปข้างต้น) แล้วกดปุ่ม Enter โปรแกรมจะแสดงผลลัพธ์ ดังรูป

191957.png

จะเห็นว่า ได้กำหนดให้ใช้งาน /dev/sda3 ที่ /var เรียบร้อยแล้ว

จากนั้นให้เลือกพาร์ทิชั่นถัดไป (/dev/sda3 สำหรับผู้ที่ไม่สร้าง swap partition และ /dev/sda4 สำหรับผู้ที่สร้าง swap partition) และทำการ format โดยขั้นตอนเดียวกับข้างต้น แล้วระบุตำแหน่งที่ใช้งานเป็น /space ดังรูป

192009.png

เมื่อ format พาร์ทิชั่นทั้งหมดแล้ว โปรแกรมจะแสดงผลของการ format และจะกำหนดการใช้งานพาร์ทิชั่นต่างๆในตอนบูตเครื่อง (ในไฟล์ /etc/fstab เช่นกัน) ดังนี้

192018.png

เป็นอันเสร็จสิ้นการ format พาร์ทิชั่นต่างๆ ที่ใช้ในการติดตั้ง

ให้กดปุ่ม Enter เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการติดตั้งแพ็กเกจ


View/Edit Diskless Server
ภาพรวม หลักการทำงาน - Hardware - Software
ติดตั้ง Server ติดตั้ง Slackware64 13.37 บูต - แบ่งพาร์ทิชั่น - เตรียมฮาร์ดดิสก์ - ติดตั้งแพ็กเกจ - ติดตั้ง Lilo - กำหนดค่าเน็ตเวิร์ก - กำหนดรหัสผ่าน - Slackware64 14.0
ปรับแต่ง Slackware Linux การใช้งานเบื้องต้น - คอมไพล์ Kernel - สร้างไดเรกทอรี - ปรับแต่ง Filesystem - ปรับแต่งแพ็กเกจ - เพิ่มการเรียก dhcpd
ปรับแต่ง Network กำหนดชื่อ Device - ทำ Network Bonding - กำหนดค่า Network
RAID สร้างพาร์ทิชั่น - สร้าง RAID - ไม่ใช้ RAID
กำหนดค่า Service NTPD - NAMED - TFTPD
โปรแกรม iSCSI Enterprise Target - iPXE
โปรแกรมจัดการระบบ Apache - MySQL - PhpMyAdmin - CakePHP - Disk Serve Manager (อัปเกรด)
ติดตั้ง Client ติดตั้ง Windows XP - ติดตั้ง iSCSI - ปรับแต่ง Windows XP - คัดลอกดิสก์ไปยังเซิร์ฟเวอร์ - Windows 7 64-bit
การใช้งาน ภาพรวม นิยาม - ไฟล์ Config และ Script
การกำหนดค่า Config - Cluster - Alternative - Computer - ตัวอย่าง
การใช้งาน หน้าจอหลัก - Mode การใช้งาน - ปรับปรุง Image - สำรอง Image - ขยายขนาด Image - ใช้หลาย Server
โปรแกรมเสริม ปรับแต่งเครื่องลูกขณะบูต - ฟอร์แมตไดรฟ์เสริม
การแก้ไขปัญหา FAQ - ไฟล์กำหนดค่า - ไฟล์บันทึกการทำงาน - Secure Erase