สร้างพาร์ทิชั่นสำหรับ RAID

จาก NakhonNet
ข้ามไปยัง: นำทาง, ค้นหา

ฮาร์ดดิสก์ที่จะทำ RAID ทั้ง RAID 0 และ RAID 5 ในแต่ละลูกให้สร้างพาร์ทิชั่นเดียวเต็มพื้นที่ โดยมีชนิดเป็น DA (Non-FS data)

ตามแผนจะสร้างพาร์ทิชั่นสำหรับทำ RAID ไว้ที่ /dev/sdc, /dev/sdd, /dev/sde และ /dev/sdf ขั้นตอนการสร้างพาร์ทิชั่นจะเหมือนกันทั้งหมด ต่างกันเพียงคำสั่งแรกที่จะเป็นการระบุว่าจะสร้างพาร์ทิชั่นบนฮาร์ดดิสก์ลูกไหนเท่านั้น ในที่นี้จะแสดงเฉพาะการสร้างพาร์ทิชั่นบน /dev/sdc เท่านั้น ส่วนฮาร์ดดิสก์ลูกอื่นก็ใช้วิธีเดียวกัน

เริ่มต้นโดยการเรียกคำสั่ง fdisk โดยระบุฮาร์ดดิสก์เป็น /dev/sdc ดังนี้

fdisk /dev/sdc

ถ้าฮาร์ดดิสก์มีข้อมูลพาร์ทิชั่นอยู่แล้ว โปรแกรมจะรอรับคำสั่งเลย ดังนี้

Command (m for help):

แต่ถ้าฮาร์ดดิสก์ยังไม่มีข้อมูลพาร์ทิชั่น โปรแกรมจะแสดงข้อความบอกว่ายังไม่มีพาร์ทิชั่น แล้วจะรอรับคำสั่งดังข้างต้น

ให้พิมพ์คำสั่ง p (พี) เพื่อตรวจดูว่ามีพาร์ทิชั่นอยู่หรือไม่ ผลลัพธ์จะได้ทำนองนี้

Command (m for help): p

Disk /dev/sdc: 500.1 GB, 500107862016 bytes
81 heads, 63 sectors/track, 191411 cylinders, total 976773168 sectors
Units = sectors of 1 * 512 = 512 bytes
Sector size (logical/physical): 512 bytes / 512 bytes
I/O size (minimum/optimal): 512 bytes / 512 bytes
Disk identifier: 0x6ad4f2dd

   Device Boot      Start         End      Blocks   Id  System
/dev/sdc1            2048   976773167   488385560    7  HPFS/NTFS/exFAT

ตัวอย่างข้างต้น เป็นฮาร์ดดิสก์ที่เคยใช้งานกับวินโดวส์มาก่อน

ถ้าฮาร์ดดิสก์มีพาร์ทิชั่นอยู่แล้ว จะต้องลบพาร์ทิชั่นทั้งหมดออกเสียก่อน โดยใช้คำสั่ง d (ดี) ซึ่งถ้ามีพาร์ทิชั่นมากกว่า 1 โปรแกรมจะถามเลขพาร์ทิชั่น แต่ถ้ามีเพียงพาร์ทิชั่นเดียว โปรแกรมจะลบพาร์ทิชั่นนั้นเลย เช่น ถ้าฮาร์ดดิสก์มี 2 พาร์ทิชั่น โปรแกรมจะถามเลขพาร์ทิชั่น ดังนี้

Command (m for help): d
Partition number (1-2):

ให้พิมพ์เลขพาร์ทิชั่นที่ต้องการลบ แล้วกดปุ่ม Enter

เมื่อลบพาร์ทิชั่นหมดแล้ว (ตรวจสอบโดยคำสั่ง p (พี)) หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีพาร์ทิชั่นมาก่อน ก็สามารถสร้างพาร์ทิชั่นสำหรับทำ RAID ได้ โดยใช้คำสั่ง n (เอ็น) โดยเลือกเป็น Primary และให้กด Enter ในคำถามต่อไปทั้งหมด (Partition number, First sector และ Last sector) ดังนี้

Command (m for help): n
Command action
   e   extended
   p   primary partition (1-4)
p
Partition number (1-4, default 1): 
Using default value 1
First sector (2048-976773167, default 2048):
Using default value 2048
Last sector (2048-976773167, default 976773167):
Using default value 976773167

จากนั้นให้เปลี่ยนชนิดของพาร์ทิชั่นจาก Linux (82) เป็น Non-FS data (da) โดยใช้คำสั่ง t (ที) ดังนี้

Command (m for help): t
Selected partition 1
Hex code (type L to list codes): da

จากนั้นให้ใช้คำสั่ง p (พี) อีกครั้ง เพื่อตรวจสอบว่าได้ตารางพาร์ทิชั่นตรงตามต้องการหรือไม่ ดังนี้

Command (m for help): p

Disk /dev/sdc: 500.1 GB, 500107862016 bytes
81 heads, 63 sectors/track, 191411 cylinders, total 976773168 sectors
Units = sectors of 1 * 512 = 512 bytes
Sector size (logical/physical): 512 bytes / 512 bytes
I/O size (minimum/optimal): 512 bytes / 512 bytes
Disk identifier: 0xf9ddf9de

   Device Boot      Start         End      Blocks   Id  System
/dev/sdc1            2048   976773167   488385560   da  Non-FS data

Command (m for help): 

และเมื่อตรวจสอบว่าตารางพาร์ทิชั่นถูกต้องแล้ว ใช้คำสั่ง w (ดับเบิลยู) เพื่อบันทึกตารางพาร์ทิชั่น และออกจากโปรแกรม fdisk

จากนั้นให้ทำขั้นตอนข้างต้นกับฮาร์ดดิสก์ลูกที่เหลือ (/dev/sdd, /dev/sde และ /dev/sdf)


View/Edit Diskless Server
ภาพรวม หลักการทำงาน - Hardware - Software
ติดตั้ง Server ติดตั้ง Slackware64 13.37 บูต - แบ่งพาร์ทิชั่น - เตรียมฮาร์ดดิสก์ - ติดตั้งแพ็กเกจ - ติดตั้ง Lilo - กำหนดค่าเน็ตเวิร์ก - กำหนดรหัสผ่าน - Slackware64 14.0
ปรับแต่ง Slackware Linux การใช้งานเบื้องต้น - คอมไพล์ Kernel - สร้างไดเรกทอรี - ปรับแต่ง Filesystem - ปรับแต่งแพ็กเกจ - เพิ่มการเรียก dhcpd
ปรับแต่ง Network กำหนดชื่อ Device - ทำ Network Bonding - กำหนดค่า Network
RAID สร้างพาร์ทิชั่น - สร้าง RAID - ไม่ใช้ RAID
กำหนดค่า Service NTPD - NAMED - TFTPD
โปรแกรม iSCSI Enterprise Target - iPXE
โปรแกรมจัดการระบบ Apache - MySQL - PhpMyAdmin - CakePHP - Disk Serve Manager (อัปเกรด)
ติดตั้ง Client ติดตั้ง Windows XP - ติดตั้ง iSCSI - ปรับแต่ง Windows XP - คัดลอกดิสก์ไปยังเซิร์ฟเวอร์ - Windows 7 64-bit
การใช้งาน ภาพรวม นิยาม - ไฟล์ Config และ Script
การกำหนดค่า Config - Cluster - Alternative - Computer - ตัวอย่าง
การใช้งาน หน้าจอหลัก - Mode การใช้งาน - ปรับปรุง Image - สำรอง Image - ขยายขนาด Image - ใช้หลาย Server
โปรแกรมเสริม ปรับแต่งเครื่องลูกขณะบูต - ฟอร์แมตไดรฟ์เสริม
การแก้ไขปัญหา FAQ - ไฟล์กำหนดค่า - ไฟล์บันทึกการทำงาน - Secure Erase