ติดตั้ง RAID

จาก NakhonNet
ข้ามไปยัง: นำทาง, ค้นหา

RAID ย่อมาจาก Redundant Array of Independent Disks เป็นการนำฮาร์ดดิสก์หลายๆ ลูกมาใช้งานร่วมกันเสมือนเป็นฮาร์ดดิสก์ลูกเดียว ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความเร็ว และ/หรือลดความเสี่ยงที่ระบบจะต้องหยุดทำงานเนื่องจากฮาร์ดดิสก์เสีย

ชนิดของ RAID

ชนิดของ RAID มีหลากหลาย ในที่นี้จะเน้นเรื่องการเพิ่มความเร็วเป็นหลัก ซึ่งมี RAID ที่เหมาะสมอยู่ 2 ชนิด คือ

RAID 0
RAID 0 ที่จริงแล้วไม่ใช่ RAID เพราะไม่มีการเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อน (redundant) กัน นั่นคือ ถ้าฮาร์ดดิสก์ลูกใดลูกหนึ่งเสีย ข้อมูลใน RAID ก็จะหายทั้งหมด อย่างไรก็ดีในการใช้กับระบบ Diskless ถ้ามีการสำรองข้อมูลที่ดี ก็สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย RAID 0 ใช้ฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดเท่ากันอย่างน้อย 2 ลูก โดยเนื้อที่ที่ได้จะเท่ากับขนาดของฮาร์ดดิสก์ทั้งหมด ส่วนความเร็วที่เพิ่มขึ้น สามารถเพิ่มขึ้นได้สูงสุดเท่ากับความเร็วของฮาร์ดดิสก์ทุกลูกรวมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นด้วย
RAID 5
RAID 5 มีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนกันในบางส่วน ทำให้ข้อมูลยังคงใช้งานได้ถึงแม้ว่าจะมีฮาร์ดดิสก์เสียไป 1 ลูกก็ตาม ทั้งนี้ RAID 5 ใช้ฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดเท่ากันอย่างน้อย 3 ลูก โดยเนื้อที่ที่ได้จะเท่ากับขนาดของฮาร์ดดิสก์ทั้งหมดลบด้วยขนาดของฮาร์ดดิสก์ 1 ลูก ส่วนความเร็วที่เพิ่มขึ้น สามารถเพิ่มขึ้นได้สูงสุดเท่ากับความเร็วของฮาร์ดดิสก์ทุกลูกรวมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นด้วย

ในที่นี้จะใช้ฮาร์ดดิสก์ขนาด 500 GB จำนวน 4 ลูกในการสร้าง RAID 0 ซึ่งจะได้เนื้อที่เท่ากับ 4 x 500 GB = 2000 GB = 2 TB

ทั้งนี้ การใช้ RAID 0 ควรจะทำความเข้าใจในส่วนของการสำรองข้อมูล โดยควรจะสำรองข้อมูลแบบเต็ม (Full Backup) 1 ครั้ง และสำรองเฉพาะข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลง (Incremental Backup) ทุกครั้งที่ทำการปรับปรุง Image หลัก

ในกรณีที่ไม่ใช้ RAID ให้ข้ามหัวข้อ สร้างพาร์ทิชั่น และสร้าง RAID แล้วทำตามหัวข้อไม่ใช้ RAID

สร้างพาร์ทิชั่น (กรณีใช้ RAID)

หน้าหลัก: สร้างพาร์ทิชั่นสำหรับ RAID

สร้างพาร์ทิชั่นบนฮาร์ดดิสก์แต่ละลูกที่จะนำมาใช้งานเป็น RAID ในขั้นตอนนี้จะใช้วิธีเดียวกันทั้ง RAID 0 และ RAID 5

สร้าง RAID (กรณีใช้ RAID)

หน้าหลัก: สร้าง RAID

สร้าง RAID โดยใช้โปรแกรม mdadm โดยการทำ RAID 0 และ RAID 5 จะแตกต่างกันเล็กน้อย

ไม่ใช้ RAID

หน้าหลัก: ไม่ใช้ RAID

ในกรณีที่ไม่ใช้ RAID ก็สามารถสร้างพาร์ทิชั่นปกติขึ้นมาใช้งานได้


View/Edit Diskless Server
ภาพรวม หลักการทำงาน - Hardware - Software
ติดตั้ง Server ติดตั้ง Slackware64 13.37 บูต - แบ่งพาร์ทิชั่น - เตรียมฮาร์ดดิสก์ - ติดตั้งแพ็กเกจ - ติดตั้ง Lilo - กำหนดค่าเน็ตเวิร์ก - กำหนดรหัสผ่าน - Slackware64 14.0
ปรับแต่ง Slackware Linux การใช้งานเบื้องต้น - คอมไพล์ Kernel - สร้างไดเรกทอรี - ปรับแต่ง Filesystem - ปรับแต่งแพ็กเกจ - เพิ่มการเรียก dhcpd
ปรับแต่ง Network กำหนดชื่อ Device - ทำ Network Bonding - กำหนดค่า Network
RAID สร้างพาร์ทิชั่น - สร้าง RAID - ไม่ใช้ RAID
กำหนดค่า Service NTPD - NAMED - TFTPD
โปรแกรม iSCSI Enterprise Target - iPXE
โปรแกรมจัดการระบบ Apache - MySQL - PhpMyAdmin - CakePHP - Disk Serve Manager (อัปเกรด)
ติดตั้ง Client ติดตั้ง Windows XP - ติดตั้ง iSCSI - ปรับแต่ง Windows XP - คัดลอกดิสก์ไปยังเซิร์ฟเวอร์ - Windows 7 64-bit
การใช้งาน ภาพรวม นิยาม - ไฟล์ Config และ Script
การกำหนดค่า Config - Cluster - Alternative - Computer - ตัวอย่าง
การใช้งาน หน้าจอหลัก - Mode การใช้งาน - ปรับปรุง Image - สำรอง Image - ขยายขนาด Image - ใช้หลาย Server
โปรแกรมเสริม ปรับแต่งเครื่องลูกขณะบูต - ฟอร์แมตไดรฟ์เสริม
การแก้ไขปัญหา FAQ - ไฟล์กำหนดค่า - ไฟล์บันทึกการทำงาน - Secure Erase