ตัวอย่างการกำหนดค่า

จาก NakhonNet
ข้ามไปยัง: นำทาง, ค้นหา

ตัวอย่างการกำหนดค่า สำหรับระบบที่มีรายละเอียดดังนี้

  • มี Cluster จำนวน 1 กลุ่ม
    • มีคอมพิวเตอร์ 10 เครื่อง
    • ทำ CoW ขนาด 5 GiB
    • ทำไดรฟ์ D: ส่วนตัวของแต่ละเครื่องขนาด 5 GiB
    • ทำ Alternative ไว้ 1 รูปแบบ
      • memtest86 สำหรับบูตเครื่องเพื่อทดสอบแรม

Image File

อัปโหลดไฟล์ image ดังนี้

  • ไฟล์ image หลักไปไว้ที่ /image/disk1.img
  • ไฟล์ memtest ไปไว้ที่ /www/diskserv/app/webroot/memtest86

Extra Disk

สร้างไฟล์ image สำหรับไดรฟ์ D: ของแต่ละเครื่อง โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • สร้างไฟล์ image โดยใช้ชื่อ <ชื่อเครื่องลูก>e<ลำดับของไดรฟ์ส่วนตัว>.img เช่น pc01e1.img โดยใช้คำสั่งดังนี้
cd /image
dd bs=1M if=/dev/zero of=pc01e1.img count=5120
  • สร้างพาร์ทิชั่นในไฟล์ image ดังกล่าว
fdisk pc01e1.img
  • ในโปรแกรม fdisk ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
คำถาม ความหมาย การตอบ
Command (m for help): เมนูหลักของ fdisk กดปุ่ม n แล้วกด Enter เพื่อสร้างพาร์ทิชั่น
Command action
e extended
p primary
เลือกประเภทของพาร์ทิชั่น กดปุ่ม p แล้วกด Enter เพื่อสร้างพาร์ทิชั่นประเภท Primary
Partition number (1-4, default: 1) ลำดับของพาร์ทิชั่น กดปุ่ม Enter เพื่อใช้ค่า default (1)
First sector (2048-20971519, default: 2048) Sector แรกของพาร์ทิชั่นนี้ กดปุ่ม Enter เพื่อใช้ค่า default (2048)
Last sector Sector สุดท้ายของพาร์ทิชั่นนี้ หรือระบุขนาดได้ กดปุ่ม Enter เพื่อใช้ค่า default (พื้นที่ทั้งหมด)
Command (m for help): เมนูหลักของ fdisk กดปุ่ม t แล้วกด Enter เพื่อเปลี่ยนประเภทของพาร์ทิชั่น
Selected partition 1
Hex code (type L to list codes):
โปรแกรมให้ระบุประเภทของพาร์ทิชั่น พิมพ์ 7 แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อเปลี่ยนประเภทของพาร์ทิชั่นเป็น HPFS/NTFS/exFAT
Command (m for help): เมนูหลักของ fdisk กดปุ่ม w แล้วกด Enter เพื่อบันทึกค่า และออกจากโปรแกรม fdisk

ฟอร์แมตพาร์ทิชั่นเป็น NTFS โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • หา loopback ที่ว่างอยู่ โดยใช้คำสั่งดังนี้
losetup -f

โปรแกรมจะแสดง loopback device ที่ว่างอยู่ สมมติว่าได้เป็น /dev/loop20

  • เชื่อมไฟล์ image ผ่านทาง loopback โดยมี offset เท่ากับ 1 MB (2048 เซ็กเตอร์) ดังนี้
losetup -o 1048576 /dev/loop20 pc01e1.img

โดยที่ /dev/loop20 คือชื่อ device ที่ได้จากขั้นตอนแรก

  • ฟอร์แมตพาร์ทิชั่นผ่านทาง loopback ดังนี้
mkfs.ntfs -f -I -L DRIVE_D /dev/loop20

โดยที่ DRIVE_D คือชื่อไดรฟ์ ซึ่งสามารถกำหนดได้ตามต้องการ และ /dev/loop20 คื่อชื่อ device ที่ได้จากขั้นตอนแรก

  • ยกเลิกการใช้งาน loopback ดังนี้
losetup -d /dev/loop20

โดยที่ /dev/loop20 คือชื่อ device ที่ได้จากขั้นตอนแรก

  • เมื่อสร้างไฟล์ extra image สำหรับเครื่อง pc01 เสร็จแล้ว ก็ให้คัดลอกไปไฟล์สำหรับเครื่องอื่นด้วย โดยใช้คำสั่งดังนี้
cp pc01e1.img pc02e1.img
cp pc01e1.img pc03e1.img
...

memtest

ไฟล์ memtest ได้จากการคอมไพล์ เนื่องจากต้องใช้แบบ ELF ซึ่งไม่มีให้ดาวน์โหลด

อย่างไรก็ดี เนื่องจาก memtest ทำงานบนระบบ 32 bit จึงไม่สามารถคอมไพล์บน Slackware64 ได้ ดังนั้นจึงต้องดาวน์โหลดจากที่คอมไพล์เตรียมไว้ให้แล้ว ดังนี้

cd /www/diskserv/app/webroot
wget http://home.nakhon.net/joke/files/memtest86.xz
xz -d memtest86.xz

สำหรับผู้ที่มีระบบลินุกซ์ 32 บิต สามารถดาวน์โหลด Source Code และคอมไพล์เองได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้

cd /space/src
wget http://www.memtest.org/download/4.20/memtest86+-4.20.tar.gz
  • แตกไฟล์
tar zxf memtest86+-4.20.tar.gz
  • คอมไพล์
cd memtest86+-4.20
make
  • จะได้ไฟล์ memtest ให้คัดลอกไปไดเรกทอรีข้างต้น
cp memtest /www/diskserv/app/webroot/memtest86

Config

ค่าต่างๆ ในตาราง settings ให้ใช้ตามการกำหนดค่า Config

Cluster

สร้างข้อมูล Cluster ขึ้นมา 1 กลุ่ม โดยมีรายละเอียดดังนี้

ชื่อ ค่า
Name disk1
Loop Name /dev/loop0
Cow Size 5120
Extra Disk 1

Alternative

สร้างข้อมูล Alternative สำหรับ memtest86 ดังนี้

ชื่อ ค่า
Name Memtest
Mode C
Image memtest86
Loop Name <เว้นว่างไว้>
Cluster disk1

Computer

สร้างข้อมูล Computer ขึ้นมา 10 เครื่อง โดยแต่ละเครื่องมีรายละเอียดดังนี้

ชื่อ ค่า
Name กำหนดเป็น pc01 สำหรับเครื่องแรกไปจนถึง pc10 สำหรับเครื่องที่ 10
Ip Address กำหนดเป็น 192.168.2.1 สำหรับเครื่องแรกไปจนถึง 192.168.2.10 สำหรับเครื่องที่ 10
Mac Address กำหนดตาม Mac Address ของแต่ละเครื่อง โดยอยู่ในรูปแบบ xx:xx:xx:xx:xx:xx (ในวินโดวส์มักจะแสดงเป็น xx-xx-xx-xx-xx-xx)
Loop Name กำหนดเป็น /dev/loop1 สำหรับเครื่องแรกไปจนถึง /dev/loop10 สำหรับเครื่องที่ 10
Cluster disk1
Mode T
Alternative <กำหนดเป็นอะไรก็ได้>

Restart Service

เมื่อกำหนดค่าทุกอย่างเสร็จแล้ว ให้ออกมาที่เมนูหลัก แล้วสั่ง Restart Service

จากนั้นก็สามารถเริ่มใช้งานเครื่องลูกได้


View/Edit Diskless Server
ภาพรวม หลักการทำงาน - Hardware - Software
ติดตั้ง Server ติดตั้ง Slackware64 13.37 บูต - แบ่งพาร์ทิชั่น - เตรียมฮาร์ดดิสก์ - ติดตั้งแพ็กเกจ - ติดตั้ง Lilo - กำหนดค่าเน็ตเวิร์ก - กำหนดรหัสผ่าน - Slackware64 14.0
ปรับแต่ง Slackware Linux การใช้งานเบื้องต้น - คอมไพล์ Kernel - สร้างไดเรกทอรี - ปรับแต่ง Filesystem - ปรับแต่งแพ็กเกจ - เพิ่มการเรียก dhcpd
ปรับแต่ง Network กำหนดชื่อ Device - ทำ Network Bonding - กำหนดค่า Network
RAID สร้างพาร์ทิชั่น - สร้าง RAID - ไม่ใช้ RAID
กำหนดค่า Service NTPD - NAMED - TFTPD
โปรแกรม iSCSI Enterprise Target - iPXE
โปรแกรมจัดการระบบ Apache - MySQL - PhpMyAdmin - CakePHP - Disk Serve Manager (อัปเกรด)
ติดตั้ง Client ติดตั้ง Windows XP - ติดตั้ง iSCSI - ปรับแต่ง Windows XP - คัดลอกดิสก์ไปยังเซิร์ฟเวอร์ - Windows 7 64-bit
การใช้งาน ภาพรวม นิยาม - ไฟล์ Config และ Script
การกำหนดค่า Config - Cluster - Alternative - Computer - ตัวอย่าง
การใช้งาน หน้าจอหลัก - Mode การใช้งาน - ปรับปรุง Image - สำรอง Image - ขยายขนาด Image - ใช้หลาย Server
โปรแกรมเสริม ปรับแต่งเครื่องลูกขณะบูต - ฟอร์แมตไดรฟ์เสริม
การแก้ไขปัญหา FAQ - ไฟล์กำหนดค่า - ไฟล์บันทึกการทำงาน - Secure Erase