การใช้งานเบื้องต้น

จาก NakhonNet
ข้ามไปยัง: นำทาง, ค้นหา

การใช้งานเบื้องต้น สำหรับผู้ที่ยังไม่คุ้นเคยกับ Slackware Linux

การป้อนคำสั่ง

ในที่นี้จะใช้งานแบบ Command Line เป็นหลัก โดยการป้อนคำสั่งจะมีรูปแบบดังนี้

root@diskserv:~# w
 06:18:53 up 15 days, 18:11,  1 user,  load average: 0.05, 0.05, 0.05
USER     TTY      FROM              LOGIN@   IDLE   JCPU   PCPU WHAT
root     pts/0    10.1.5.37        06:18    0.00s  0.00s  0.00s w
root@diskserv:~# free
             total       used       free     shared    buffers     cached
Mem:      16338692   16100516     238176          0    4909520    9414768
-/+ buffers/cache:    1776228   14562464
Swap:            0          0          0
root@diskserv:~# 
  • สีแดงคือ Prompt เป็นข้อความที่ลินุกซ์แสดงออกมาเพื่อรอรับคำสั่ง โดยปกติจะแสดงไดเรกทอรีปัจจุบัน โดยที่เครื่องหมาย ~ หมายความว่าอยู่ที่ Home Directory (คล้ายๆ กับไดเรกทอรีแรกเมื่อเรียกคำสั่ง cmd ในวินโดวส์)
  • สีน้ำเงินคือคำสั่งที่ผู้ใช้พิมพ์ลงไป โดยเมื่อจบคำสั่งจะต้องกดปุ่ม Enter ด้วย
  • สีดำคือผลลัพธ์ของคำสั่ง

ในที่นี้มีการเรียกใช้คำสั่ง 2 คำสั่ง คือ

  • คำสั่ง w เพื่อดูว่ามีใครกำลังใช้งานเครื่องอยู่ และดูสถานะเครื่องคร่าวๆ โดยจะบอกเวลาปัจจุบัน (06:18:53), ระยะเวลาที่เปิดเครื่องมาแล้ว (15 วัน 18 ชั่วโมง 11 นาที) และการใช้งานของระบบใน 1 นาที, 15 นาที และ 1 ชั่วโมงย้อนหลัง (0.05, 0.05, 0.05)
  • คำสั่ง free เพื่อดูสถานะของหน่วยความจำ โดยจะบอกหน่วยความจำทั้งหมด, หน่วยความจำที่ใช้งาน, หน่วยความจำคงเหลือ และการนำหน่วยความจำไปใช้เป็น บัฟเฟอร์ และแคช รวมทั้งการใช้งานหน่วยความจำเมื่อหักในส่วนที่เป็นบัฟเฟอร์ และแคชออกไป

ระบบไฟล์

คำสั่งในการใช้งานระบบไฟล์บน Slackware Linux ก็เหมือนๆ กับลินุกซ์อื่นๆ รวมทั้งยูนิกซ์ และบางส่วนก็คล้ายกับดอส หรือแม้กระทั่ง Command Line ของวินโดวส์

อนึ่ง คำว่า โฟลเดอร์ บนวินโดวส์ บนลินุกซ์ และยูนิกซ์จะเรียกว่า ไดเรกทอรี ซึ่งเป็นที่มาของหลายคำสั่ง เช่น cd (change directory), mkdir (make directory) เป็นต้น

คำสั่งสำหรับระบบไฟล์

pwd
สำหรับดูไดเรกทอรีปัจจุบัน (ปกติจะแสดงอยู่ที่ prompt อยู่แล้ว)
ls
สำหรับดูรายชื่อไฟล์ในไดเรกทอรีปัจจุบัน หากต้องการดูรายละเอียดไฟล์ด้วย ใช้ ls -l
cd
สำหรับเปลี่ยนไดเรกทอรี เช่น cd /etc/rc.d เพื่อไปยังไดเรกทอรี /etc/rc.d
mkdir
สำหรับสร้างไดเรกทอรี เช่น mkdir /space เพื้อสร้างไดเรกทอรี
cat
สำหรับแสดงข้อมูลในไฟล์ เช่น cat /etc/dhcpd.conf เพื่อแสดงข้อมูลในไฟล์ /etc/dhcpd.conf

ตัวอย่างการใช้งาน

root@diskserv:~# cd /etc
root@diskserv:/etc# cd rc.d
root@diskserv:/etc/rc.d# cat rc.local
#!/bin/sh
#
# /etc/rc.d/rc.local:  Local system initialization script.
#
# Put any local startup commands in here.  Also, if you have
# anything that needs to be run at shutdown time you can
# make an /etc/rc.d/rc.local_shutdown script and put those
# commands in there.

root@diskserv:/etc/rc.d# 
คำสั่ง ความหมาย
cd /etc เข้าไปยังไดเรกทอรี /etc
cd rc.d เข้าไปยังไดเรกทอรี rc.d ที่อยู่ภายใต้ไดเรกทอรี /etc
cat rc.local แสดงข้อมูลภายในไฟล์ rc.local

การแก้ไขไฟล์

การแก้ไขไฟล์ หรือสร้างไฟล์ จะต้องใช้โปรแกรม Editor มาแก้ไฟล์ เช่น vi, pico หรือ nano (ในที่นี้แนะนำ 2 ตัวหลัง ซึ่งใช้ไม่ยากนัก) เช่น การแก้ไขไฟล์ /etc/lilo.conf ก็ให้เรียกคำสั่งดังนี้

pico /etc/lilo.conf

เมื่อเข้าโปรแกรมแล้ว การเลื่อนเคอร์เซอร์ ใช้ปุ่มลูกศร, Home, End, PageUp และ PageDown และใช้ปุ่ม Back Space, Delete ในการลบข้อความ และกดปุ่ม Ctrl-X (กดปุ่ม Ctrl ค้างไว้ แล้วกดปุ่ม X แล้วปล่อยทั้งสองปุ่ม) เพื่อออกจากโปรแกรม โดยโปรแกรมจะถามว่าจะบันทึกสิ่งที่แก้ไขหรือไม่ ให้ตอบ Y เพื่อบันทึก


View/Edit Diskless Server
ภาพรวม หลักการทำงาน - Hardware - Software
ติดตั้ง Server ติดตั้ง Slackware64 13.37 บูต - แบ่งพาร์ทิชั่น - เตรียมฮาร์ดดิสก์ - ติดตั้งแพ็กเกจ - ติดตั้ง Lilo - กำหนดค่าเน็ตเวิร์ก - กำหนดรหัสผ่าน - Slackware64 14.0
ปรับแต่ง Slackware Linux การใช้งานเบื้องต้น - คอมไพล์ Kernel - สร้างไดเรกทอรี - ปรับแต่ง Filesystem - ปรับแต่งแพ็กเกจ - เพิ่มการเรียก dhcpd
ปรับแต่ง Network กำหนดชื่อ Device - ทำ Network Bonding - กำหนดค่า Network
RAID สร้างพาร์ทิชั่น - สร้าง RAID - ไม่ใช้ RAID
กำหนดค่า Service NTPD - NAMED - TFTPD
โปรแกรม iSCSI Enterprise Target - iPXE
โปรแกรมจัดการระบบ Apache - MySQL - PhpMyAdmin - CakePHP - Disk Serve Manager (อัปเกรด)
ติดตั้ง Client ติดตั้ง Windows XP - ติดตั้ง iSCSI - ปรับแต่ง Windows XP - คัดลอกดิสก์ไปยังเซิร์ฟเวอร์ - Windows 7 64-bit
การใช้งาน ภาพรวม นิยาม - ไฟล์ Config และ Script
การกำหนดค่า Config - Cluster - Alternative - Computer - ตัวอย่าง
การใช้งาน หน้าจอหลัก - Mode การใช้งาน - ปรับปรุง Image - สำรอง Image - ขยายขนาด Image - ใช้หลาย Server
โปรแกรมเสริม ปรับแต่งเครื่องลูกขณะบูต - ฟอร์แมตไดรฟ์เสริม
การแก้ไขปัญหา FAQ - ไฟล์กำหนดค่า - ไฟล์บันทึกการทำงาน - Secure Erase