แบ่งพาร์ทิชั่น

จาก NakhonNet
ข้ามไปยัง: นำทาง, ค้นหา

ในฮาร์ดดิสก์ลูกแรก จะใช้สำหรับเก็บโอเอส และไฟล์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโอเอส (ไม่ใช่ข้อมูลของระบบ Diskless) โดยแบ่งพาร์ทิชั่นดังนี้ (สมมติว่าใช้ฮาร์ดดิสก์ 80 GB)

ที่ partition ขนาด partition ชื่อ partition mount point
1 /dev/sda1 10 GB root_partition /
2 /dev/sda2 10 GB var_partition /var
3 /dev/sda3 60 GB space_partition /space

โดยพาร์ทิชั่น sda3 จะเป็นเนื้อที่ที่เหลือทั้งหมด

อย่างไรก็ดี หากเครื่องที่ใช้มีแรมไม่ถึง 2 GiB ก็ควรจะทำพาร์ทิชั่น swap ไว้ด้วย โดยไว้หน้าสุด และมีขนาด 2 GB ดังนั้น ในกรณีนี้พาร์ทิชั่นจะเป็นดังนี้

ที่ partition ขนาด partition ชื่อ partition mount point
1 /dev/sda1 2 GB N/A N/A
2 /dev/sda2 10 GB root_partition /
3 /dev/sda3 10 GB var_partition /var
4 /dev/sda4 58 GB space_partition /space

โดยพาร์ทิชั่น sda4 จะเป็นเนื้อที่ที่เหลือทั้งหมด

ก่อนอื่น ให้ตรวจสอบว่าลินุกซ์มองเห็นฮาร์ดดิสก์หรือไม่ และเห็นเป็น device อะไร โดยใช้คำสั่งดังนี้

fdisk -l

ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ทำนองนี้ (ผลลัพธ์แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับฮาร์ดดิสก์แต่ละลูก)

191400.png

จากในรูป จะพบว่าลินุกซ์เห็นฮาร์ดดิสก์เป็น /dev/sda มีขนาด 10.7 GB และเนื่องจากเป็นฮาร์ดดิสก์ใหม่ จึงยังไม่มีตารางพาร์ทิชั่น

จากนั้นให้เรียกคำสั่งเพื่อแบ่งพาร์ทิชั่น ดังนี้

fdisk /dev/sda

โดยที่ /dev/sda คือชื่อ device ที่ได้จากคำสั่ง fdisk -l ข้างต้น ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ดังนี้

191417.png

โปรแกรมจะสร้างตารางพาร์ทิชั่นแบบ DOS ขึ้นมา และรอรับคำสั่ง

ให้กดปุ่ม p (พี) แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อดูพาร์ทิชั่นที่มีอยู่เดิมในฮาร์ดดิสก์ หากฮาร์ดดิสก์มีพาร์ทิชั่นเดิมอยู่แล้ว โปรแกรมจะแสดงพาร์ทิชั่นที่มีอยู่ดังนี้

root@slackware:/# fdisk /dev/sda

Command (m for help): p

Disk /dev/sda: 500.0 GB, 500000882688 bytes
255 heads, 63 sectors/track, 60788 cylinders, total 976564224 sectors
Units = sectors of 1 * 512 = 512 bytes
Sector size (logical/physical): 512 bytes / 512 bytes
I/O size (minimum/optimal): 512 bytes / 512 bytes
Disk identifier: 0x17db7b38

   Device Boot      Start         End      Blocks   Id  System
/dev/sda1            2048   488282111   244140032    7  HPFS/NTFS/exFAT
/dev/sda2       488282112   976564223   244141056    5  Extended
/dev/sda5       488284160   976564223   244140032    7  HPFS/NTFS/exFAT

Command (m for help):

ถ้าไม่มีพาร์ทิชั่นอยู่เลย ก็ข้ามไปขั้นตอนสร้างพาร์ทิชั่นได้ แต่ถ้ามีพาร์ทิชั่นอยู่แล้ว จะต้องลบพาร์ทิชั่นเดิมออกให้หมดก่อน โดยกดปุ่ม d (ดี) แล้วกดปุ่ม Enter ซึ่งโปรแกรมจะถามว่าเป็นพาร์ทิชั่นหมายเลขใด ให้พิมพ์หมายเลขพาร์ทิชั่นที่ต้องการลบ แล้วกดปุ่ม Enter โดยให้ลบจากพาร์ทิชั่นเลขมากไปยังเลขน้อย ดังนี้

Command (m for help): d
Partition number (1-5): 5

Command (m for help): d
Partition number (1-5): 2

Command (m for help): d
Selected partition 1

Command (m for help):

ให้ทำขั้นตอนลบพาร์ทิชั่นซ้ำ เพื่อลบพาร์ทิชั่นทั้งหมด โดยในการลบพาร์ทิชั่นสุดท้ายโปรแกรมจะไม่ถามเลขพาร์ทิชั่น จากนั้นเมื่อลบพาร์ทิชั่นทั้งหมดแล้ว สามารถตรวจสอบได้โดยกดปุ่ม p (พี) แล้วกดปุ่ม Enter จะเห็นว่าไม่มีพาร์ทิชั่นแล้ว ดังนี้

Command (m for help): p

Disk test.img: 500.0 GB, 500000882688 bytes
255 heads, 63 sectors/track, 60788 cylinders, total 976564224 sectors
Units = sectors of 1 * 512 = 512 bytes
Sector size (logical/physical): 512 bytes / 512 bytes
I/O size (minimum/optimal): 512 bytes / 512 bytes
Disk identifier: 0x17db7b38

   Device Boot      Start         End      Blocks   Id  System

Command (m for help): 

เมื่อลบพาร์ทิชั่นทั้งหมดแล้ว หรือใช้ฮาร์ดดิสก์ที่ไม่มีพาร์ทิชั่นอยู่ก่อน ก็สามารถทำขั้นตอนต่อไปได้

ในที่นี้จะแบ่งพาร์ทิชั่นแบบที่สอง คือมี swap partition ด้วย สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการสร้าง swap partition ก็ให้ปรับขั้นตอนตามความเหมาะสม

ในขั้นแรก กดปุ่ม n (เอ็น) แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อใช้คำสั่ง new partition ดังนี้

191443.png

โปรแกรมจะถามว่าเป็นพาร์ทิชั่นแบบใด ให้กดปุ่ม p (พี) แล้วกดปุ่ม Enter

จากนั้นโปรแกรมจะถามรายละเอียดของพาร์ทิชั่นดังนี้

คำถาม ความหมาย การตอบ
Partition number (1-4, default: 1) ลำดับของพาร์ทิชั่น กดปุ่ม Enter เพื่อใช้ค่า default (1)
First sector (2048-xxxx, default: 2048) Sector แรกของพาร์ทิชั่นนี้ กดปุ่ม Enter เพื่อใช้ค่า default (2048)
Last sector Sector สุดท้ายของพาร์ทิชั่นนี้ หรือระบุขนาดได้ พิมพ์ +2G แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อระบุขนาดเป็น 2 GB (ในรูปได้พิมพ์ +100M ไป เพื่อสร้างพาร์ทิชั่นขนาด 100 MB)

โปรแกรมจะสร้างพาร์ทิชั่นตามที่กำหนดไว้ จากนั้นโปรแกรมจะกลับมารอรับคำสั่งอีกครั้ง ดังนี้

191537.png

จากนั้นให้สร้างพาร์ทิชั่นที่ 2, 3 และ 4 โดยใช้คำสั่ง n (เอ็น) และใส่รายละเอียดดังนี้

ที่ Partition number First sector Last sector
2 กดปุ่ม Enter เพื่อใช้ค่า default (2) กดปุ่ม Enter เพื่อใช้ค่า default พิมพ์ +10G แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อระบุขนาดเป็น 10 GB (ในรูปได้พิมพ์ +5G ไป เพื่อสร้างพาร์ทิชั่นขนาด 5 GB)
3 กดปุ่ม Enter เพื่อใช้ค่า default (3) กดปุ่ม Enter เพื่อใช้ค่า default พิมพ์ +10G แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อระบุขนาดเป็น 10 GB (ในรูปได้พิมพ์ +2G ไป เพื่อสร้างพาร์ทิชั่นขนาด 2 GB)
4 โปรแกรมไม่ถาม เพราะเหลือค่า 4 เท่านั้น กดปุ่ม Enter เพื่อใช้ค่า default กดปุ่ม Enter เพื่อใช้ค่า default (พื้นที่ที่เหลือทั้งหมด)

รูปแสดงการสร้างพาร์ทิชั่น 2 และ 3

191627.png

รูปแสดงการสร้างพาร์ทิชั่น 4

191646.png

ในรูปหลังจากสร้างพาร์ทิชั่นทั้งหมดแล้ว ใช้คำสั่ง p (พี) เพื่อดูตารางพาร์ทิชั่น ในรูปได้สร้างพาร์ทิชั่นขนาด 100 MB, 5 GB, 2 GB และ 3 GB ตามลำดับ

ขั้นตอนต่อไปคือเปลี่ยนชนิดของพาร์ทิชั่นแรก จาก Linux ไปเป็น Linux swap โดยใช้คำสั่ง t (ที) แล้วระบุว่าต้องการเปลี่ยนพาร์ทิชั่น 1 โดยเปลี่ยนเป็นชนิด 82 ซึ่งคือ Linux swap (สำหรับผู้ที่ไม่สร้าง swap ก็ข้ามขั้นตอนนี้ไป)

และกำหนด active partition เป็นพาร์ทิชั่นที่ 2 โดยใช้คำสั่ง a (เอ) แล้วระบุว่าต้องการให้พาร์ทิชั่นที่ active คือพาร์ทิชั่น 2 (ขั้นตอนนี้ไม่จำเป็น แต่ทำไปก็ไม่เสียหาย ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหากับ BIOS บางรุ่น)

จากนั้นใช้คำสั่ง p (พี) อีกครั้งเพื่อดูตารางพาร์ทิชั่น ดังรูป

191702.png

สังเกตุว่ามีเครื่องหมายดอกจันที่คอลัมน์ Boot และชนิดของพาร์ทิชั่นแรกเปลี่ยนเป็น Linux swap แล้ว

จากนั้นใช้คำสั่ง v (วี) เพื่อตรวจสอบ ซึ่งจะพบว่ามี sector จำนวน 2047 sector ที่ไม่ใช้งาน ซึ่งเป็นค่าปกติ จากนั้นใช้คำสั่ง w (ดับเบิลยู) เพื่อบันทึกตารางพาร์ทิชั่น และออกจากโปรแกรม fdisk

สุดท้ายใช้คำสั่ง fdisk -l อีกครั้งเพื่อยืนยันว่าได้บันทึกตารางพาร์ทิชั่นได้ถูกต้อง ดังรูป

191718.png

เสร็จสิ้นการแบ่งพาร์ทิชั่นบนฮาร์ดดิสก์ ขั้นตอนต่อไปคือการเตรียมฮาร์ดดิสก์สำหรับติดตั้ง


View/Edit Diskless Server
ภาพรวม หลักการทำงาน - Hardware - Software
ติดตั้ง Server ติดตั้ง Slackware64 13.37 บูต - แบ่งพาร์ทิชั่น - เตรียมฮาร์ดดิสก์ - ติดตั้งแพ็กเกจ - ติดตั้ง Lilo - กำหนดค่าเน็ตเวิร์ก - กำหนดรหัสผ่าน - Slackware64 14.0
ปรับแต่ง Slackware Linux การใช้งานเบื้องต้น - คอมไพล์ Kernel - สร้างไดเรกทอรี - ปรับแต่ง Filesystem - ปรับแต่งแพ็กเกจ - เพิ่มการเรียก dhcpd
ปรับแต่ง Network กำหนดชื่อ Device - ทำ Network Bonding - กำหนดค่า Network
RAID สร้างพาร์ทิชั่น - สร้าง RAID - ไม่ใช้ RAID
กำหนดค่า Service NTPD - NAMED - TFTPD
โปรแกรม iSCSI Enterprise Target - iPXE
โปรแกรมจัดการระบบ Apache - MySQL - PhpMyAdmin - CakePHP - Disk Serve Manager (อัปเกรด)
ติดตั้ง Client ติดตั้ง Windows XP - ติดตั้ง iSCSI - ปรับแต่ง Windows XP - คัดลอกดิสก์ไปยังเซิร์ฟเวอร์ - Windows 7 64-bit
การใช้งาน ภาพรวม นิยาม - ไฟล์ Config และ Script
การกำหนดค่า Config - Cluster - Alternative - Computer - ตัวอย่าง
การใช้งาน หน้าจอหลัก - Mode การใช้งาน - ปรับปรุง Image - สำรอง Image - ขยายขนาด Image - ใช้หลาย Server
โปรแกรมเสริม ปรับแต่งเครื่องลูกขณะบูต - ฟอร์แมตไดรฟ์เสริม
การแก้ไขปัญหา FAQ - ไฟล์กำหนดค่า - ไฟล์บันทึกการทำงาน - Secure Erase