ไม่ใช้ RAID

จาก NakhonNet
ข้ามไปยัง: นำทาง, ค้นหา

กรณีที่ไม่ใช้ RAID เช่น การติดตั้งเพื่อทดสอบ, การใช้ SSD ก็สามารถทำได้

ใช้ดิสก์เพียงลูกเดียวในการเก็บไฟล์ image

ในที่นี้สมมติว่าใช้ฮาร์ดดิสก์สำหรับเก็บไฟล์ image เสียบที่พอร์ต SATA พอร์ตที่ 3 ซึ่งในระบบจะมองเห็นเป็น /dev/sdc (ต่อจากฮาร์ดดิสก์สองลูกแรก)

การติดตั้งมี 3 ขั้นตอน คือ

  • สร้างพาร์ทิชั่น
  • ฟอร์แมตพาร์ทิชั่น
  • Mount พาร์ทิชั่น

การสร้างพาร์ทิชั่นให้ทำตามขั้นตอนใน ปรับแต่ง Filesystem หัวข้อ สร้างพาร์ทิชั่น โดยเปลี่ยน /dev/sdb เป็น /dev/sdc และเปลี่ยน /dev/sdb1 เป็น /dev/sdc1

เมื่อสร้างพาร์ทิชั่นเรียบร้อยแล้ว ให้ฟอร์แมตพาร์ทิชั่น โดยใช้คำสั่งดังนี้

mke2fs -t ext4 -L image_partition /dev/sdb1

ปรับแต่ค่าของ filesystem ดังนี้

tune2fs -r 20480 /dev/sdc1
tune2fs -O ^has_journal /dev/sdc1

คำสั่งแรกเพื่อลดขนาดของเนื้อที่สงวนจากเดิม 5% เป็น 10 MB ส่วนคำสั่งที่สองเป็นการไม่ใช้ journal บน filesystem นี้

จากนั้นทดลอง mount พาร์ทิชั่นโดยใช้คำสั่งดังนี้

mount /dev/sdc1 /image

ตรวจสอบการ mount โดยใช้คำสั่งดังนี้

root@diskserv:/# df
Filesystem                 1K-blocks       Used  Available Use% Mounted on
/dev/sda1                   10452940    3891504    6037148  40% /
/dev/sda2                   10452940     370392    9558260   4% /var
/dev/sda3                   57070904   21561128   32650868  40% /space
/dev/sdb1                  124856752       6144  122158996   0% /cow
/dev/sdc1                  483729100       6144  483570660   0% /image
tmpfs                        8177700          0    8177700   0% /dev/shm
root@diskserv:/#

จะเห็นว่ามีการ mount /dev/sdc1 มาใช้งานที่ /image ตรงตามต้องการ

จากนั้นให้เพิ่มการกำหนดค่าในไฟล์ /etc/fstab เพื่อให้ระบบ mount พาร์ทิชั่นนี้ในตอนบูต ดังนี้

LABEL=root_partition  /           ext4        defaults         1   1
LABEL=var_partition   /var        ext4        defaults         1   2
LABEL=space_partition /space      ext4        defaults         1   2
LABEL=cow_partition   /cow        ext4        defaults,discard 1   2
LABEL=image_partition /image      ext4        defaults         1   2
#/dev/cdrom      /mnt/cdrom       auto        noauto,owner,ro  0   0
/dev/fd0         /mnt/floppy      auto        noauto,owner     0   0
devpts           /dev/pts         devpts      gid=5,mode=620   0   0
proc             /proc            proc        defaults         0   0
tmpfs            /dev/shm         tmpfs       defaults         0   0

ให้เพิ่มบรรทัดสีน้ำเงินเข้าไป

กรณีที่ใช้ SSD ก็ให้ใส่ discard ลงไปด้วยเพื่อเปิดใช้ TRIM ดังเช่นบรรทัด cow_partition

เมื่อตรวจสอบความถูกต้องของไฟล์ /etc/fstab เรียบร้อยแล้ว ให้บูตเครื่องใหม่

เก็บไฟล์ image ไว้ใน /space

กรณีที่ต้องการเก็บไฟล์ image ไว้ใน /space เลย ก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยเรียกคำสั่งดังนี้

cd /
rmdir image
mkdir /space/image
ln -s /space/image

เพื่อเป็นการสร้างไดเรกทอรี image ไว้ภายใต้ไดเรกทอรี /space และเชื่อมโยงไดเรกทอรี /space/image มายัง /image เพื่อให้โครงสร้างไดเรกทอรียังคงเหมือนเดิม


View/Edit Diskless Server
ภาพรวม หลักการทำงาน - Hardware - Software
ติดตั้ง Server ติดตั้ง Slackware64 13.37 บูต - แบ่งพาร์ทิชั่น - เตรียมฮาร์ดดิสก์ - ติดตั้งแพ็กเกจ - ติดตั้ง Lilo - กำหนดค่าเน็ตเวิร์ก - กำหนดรหัสผ่าน - Slackware64 14.0
ปรับแต่ง Slackware Linux การใช้งานเบื้องต้น - คอมไพล์ Kernel - สร้างไดเรกทอรี - ปรับแต่ง Filesystem - ปรับแต่งแพ็กเกจ - เพิ่มการเรียก dhcpd
ปรับแต่ง Network กำหนดชื่อ Device - ทำ Network Bonding - กำหนดค่า Network
RAID สร้างพาร์ทิชั่น - สร้าง RAID - ไม่ใช้ RAID
กำหนดค่า Service NTPD - NAMED - TFTPD
โปรแกรม iSCSI Enterprise Target - iPXE
โปรแกรมจัดการระบบ Apache - MySQL - PhpMyAdmin - CakePHP - Disk Serve Manager (อัปเกรด)
ติดตั้ง Client ติดตั้ง Windows XP - ติดตั้ง iSCSI - ปรับแต่ง Windows XP - คัดลอกดิสก์ไปยังเซิร์ฟเวอร์ - Windows 7 64-bit
การใช้งาน ภาพรวม นิยาม - ไฟล์ Config และ Script
การกำหนดค่า Config - Cluster - Alternative - Computer - ตัวอย่าง
การใช้งาน หน้าจอหลัก - Mode การใช้งาน - ปรับปรุง Image - สำรอง Image - ขยายขนาด Image - ใช้หลาย Server
โปรแกรมเสริม ปรับแต่งเครื่องลูกขณะบูต - ฟอร์แมตไดรฟ์เสริม
การแก้ไขปัญหา FAQ - ไฟล์กำหนดค่า - ไฟล์บันทึกการทำงาน - Secure Erase