ติดตั้ง RAID
RAID ย่อมาจาก Redundant Array of Independent Disks เป็นการนำฮาร์ดดิสก์หลายๆ ลูกมาใช้งานร่วมกันเสมือนเป็นฮาร์ดดิสก์ลูกเดียว ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความเร็ว และ/หรือลดความเสี่ยงที่ระบบจะต้องหยุดทำงานเนื่องจากฮาร์ดดิสก์เสีย
ชนิดของ RAID
ชนิดของ RAID มีหลากหลาย ในที่นี้จะเน้นเรื่องการเพิ่มความเร็วเป็นหลัก ซึ่งมี RAID ที่เหมาะสมอยู่ 2 ชนิด คือ
- RAID 0
- RAID 0 ที่จริงแล้วไม่ใช่ RAID เพราะไม่มีการเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อน (redundant) กัน นั่นคือ ถ้าฮาร์ดดิสก์ลูกใดลูกหนึ่งเสีย ข้อมูลใน RAID ก็จะหายทั้งหมด อย่างไรก็ดีในการใช้กับระบบ Diskless ถ้ามีการสำรองข้อมูลที่ดี ก็สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย RAID 0 ใช้ฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดเท่ากันอย่างน้อย 2 ลูก โดยเนื้อที่ที่ได้จะเท่ากับขนาดของฮาร์ดดิสก์ทั้งหมด ส่วนความเร็วที่เพิ่มขึ้น สามารถเพิ่มขึ้นได้สูงสุดเท่ากับความเร็วของฮาร์ดดิสก์ทุกลูกรวมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นด้วย
- RAID 5
- RAID 5 มีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนกันในบางส่วน ทำให้ข้อมูลยังคงใช้งานได้ถึงแม้ว่าจะมีฮาร์ดดิสก์เสียไป 1 ลูกก็ตาม ทั้งนี้ RAID 5 ใช้ฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดเท่ากันอย่างน้อย 3 ลูก โดยเนื้อที่ที่ได้จะเท่ากับขนาดของฮาร์ดดิสก์ทั้งหมดลบด้วยขนาดของฮาร์ดดิสก์ 1 ลูก ส่วนความเร็วที่เพิ่มขึ้น สามารถเพิ่มขึ้นได้สูงสุดเท่ากับความเร็วของฮาร์ดดิสก์ทุกลูกรวมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นด้วย
ในที่นี้จะใช้ฮาร์ดดิสก์ขนาด 500 GB จำนวน 4 ลูกในการสร้าง RAID 0 ซึ่งจะได้เนื้อที่เท่ากับ 4 x 500 GB = 2000 GB = 2 TB
ทั้งนี้ การใช้ RAID 0 ควรจะทำความเข้าใจในส่วนของการสำรองข้อมูล โดยควรจะสำรองข้อมูลแบบเต็ม (Full Backup) 1 ครั้ง และสำรองเฉพาะข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลง (Incremental Backup) ทุกครั้งที่ทำการปรับปรุง Image หลัก
ในกรณีที่ไม่ใช้ RAID ให้ข้ามหัวข้อ สร้างพาร์ทิชั่น และสร้าง RAID แล้วทำตามหัวข้อไม่ใช้ RAID
สร้างพาร์ทิชั่น (กรณีใช้ RAID)
- หน้าหลัก: สร้างพาร์ทิชั่นสำหรับ RAID
สร้างพาร์ทิชั่นบนฮาร์ดดิสก์แต่ละลูกที่จะนำมาใช้งานเป็น RAID ในขั้นตอนนี้จะใช้วิธีเดียวกันทั้ง RAID 0 และ RAID 5
สร้าง RAID (กรณีใช้ RAID)
- หน้าหลัก: สร้าง RAID
สร้าง RAID โดยใช้โปรแกรม mdadm โดยการทำ RAID 0 และ RAID 5 จะแตกต่างกันเล็กน้อย
ไม่ใช้ RAID
- หน้าหลัก: ไม่ใช้ RAID
ในกรณีที่ไม่ใช้ RAID ก็สามารถสร้างพาร์ทิชั่นปกติขึ้นมาใช้งานได้